Company Highlight

 

 

แสดงข้อมูล Highlight ของบริษัท โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้

 

1.    ข้อมูลเบื้องต้น

2.    ข้อมูลการซื้อขาย (Adjusted Price)

3.    ข้อมูลสถิติ

4.    รายละเอียดหลักทรัพย์  

 

ส่วนที่ 1: Overview

 

ข้อมูลเบื้องต้นของบริษัทจดทะเบียน

 

รายการ

รายละเอียด

CG Score

รายงานการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน โดยมีแบ่งเป็น 5 กลุ่มเรียงตามคะแนน ดังนี้

 

ช่วงคะแนน

สัญลักษณ์

ความหมาย

90 - 100

SNAGHTML59be5dSNAGHTML59be5dSNAGHTML59be5dSNAGHTML59be5dSNAGHTML59be5d

ดีเลิศ

80 – 89

SNAGHTML59be5dSNAGHTML59be5dSNAGHTML59be5dSNAGHTML59be5d

ดีมาก

70 – 79

SNAGHTML59be5dSNAGHTML59be5dSNAGHTML59be5d

ดี

60 – 69

SNAGHTML59be5dSNAGHTML59be5d

ดีพอใช้

50 – 59

SNAGHTML59be5d

ผ่าน

ต่ำกว่า 50

-

-

 

โครงการ CG Rating เป็นโครงการที่สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ริเริ่มดำเนินการ โดยมีบริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (TRIS) ทำหน้าที่เป็นผู้จัดอันดับ โดยโครงการนี้มีแนวคิดที่จะสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี (good corporate governance) ซึ่งจะทำให้บริษัทจดทะเบียนที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่แล้ว ได้รับประโยชน์ทั้งในด้านการรับรู้ของประชาชนโดยทั่วไป และการได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากทางการ รวมทั้งเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถใช้ผลการจัดอันดับเป็นปัจจัยประกอบการตัดสินใจลงทุน ซึ่งความต้องการลงทุนในบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีดังกล่าว น่าจะจูงใจให้บริษัทจดทะเบียนอื่นๆ ปรับปรุงระบบการกำกับดูแลกิจการให้ดียิ่งขึ้นด้วย

Market

ตลาดที่บริษัทเข้าจดทะเบียน

Industry

กลุ่มอุตสาหกรรม

Sector

หมวดธุรกิจ

 

ส่วนที่ 2: Trading (Adjusted Price)

 

ราคาต่างๆ ซึ่งเป็นราคาหลังจากปรับสิทธิแล้ว

 

รายการ

รายละเอียด

Close

ราคาปิด

Change

ค่าเปลี่ยนแปลงของราคาปิดเทียบกับราคาปิดก่อนหน้า

%Chg

ค่าเปลี่ยนแปลงของราคาปิดเทียบกับราคาปิดก่อนหน้า ในหน่วย %

Open

ราคาเปิด

Day's Range

แสดงราคาต่ำสุดและราคาสูงสุดของวัน

52-Wk Range

แสดงราคาต่ำสุดและราคาสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์

Prev

ราคาปิดก่อนหน้า

Average Price

ราคาเฉลี่ย

Volume (Shares)

ปริมาณซื้อขาย มีหน่วยเป็นหุ้น

Value ('000 Baht)

มูลค่าซื้อขาย ในหน่วยพันบาท

%Chg 1W

%เปลี่ยนแปลง 1 สัปดาห์

%Chg 1M

%เปลี่ยนแปลง 1 เดือน

%Chg 3M

%เปลี่ยนแปลง 3 เดือน

As of

แสดงวันที่ของข้อมูล

 

ส่วนที่ 3: Statistic

 

ข้อมูลสถิติต่างๆ

 

รายการ

รายละเอียด

Beta

ค่าเบต้า ใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของ “ราคาหุ้น” เทียบกับ “การเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์” หรือเรียกในเชิงสถิติ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้นกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์นั่นเอง สามารถแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้

1.    ค่าเบต้า > 1

หมายถึง ราคาหุ้นจะเคลื่อนไหวในอัตราที่สูงกว่าการเปลี่ยนแปลงของตลาด เช่น หุ้น ABC มีค่าเบต้าที่ 1.2 เท่า หาก SET ปรับตัวขึ้น 10% ในวันนี้ ราคาหุ้น ABC จะปรับขึ้น 12% และในทางกลับกัน SET ลดลง 10% ราคาหุ้น ABC จะลดลง 12% เช่นกัน   

2.    ค่าเบต้า = 1

หมายถึง ราคาหุ้นจะเปลี่ยนแปลงเท่ากับการเคลื่อนไหวของตลาด เช่น หุ้น ABC มีค่าเบต้าที่ 1 เท่า หาก SET ปรับตัวขึ้น 10% ในวันนี้ ราคาหุ้น ABC ปรับขึ้น 10% และในทางกลับกัน SET ลดลง 10% ราคาหุ้น ABC จะลดลง 10% เช่นกัน

3.    ค่าเบต้า < 1

หมายถึง ราคาหุ้นจะเปลี่ยนแปลงหรือผันผวนน้อยกว่าตลาด ซึ่งมักเป็นหุ้น Defensive เช่น หุ้น ABC มีค่าเบต้าที่ 0.8 เท่า หาก SET ขึ้น 10% ราคาหุ้น ABC ขึ้น 8% แต่ในทางกลับกัน SET ลดลง 10% ราคาหุ้น ABC ลดลง 8%

4.    ค่าเบต้าติดลบ

หมายถึง ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกับตลาด เช่น หุ้น ABC มีค่าเบต้าที่ -0.2 เท่า หาก SET ขึ้น 10% ราคาหุ้น ABC ลง 2% แต่ในทางกลับกัน SET ลดลง 10% ราคาหุ้น ABC ขึ้น 2%

P/E

อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อกําไรสุทธิต่อหุ้นสามัญ (EPS) ที่บริษัททำได้ในรอบระยะเวลา 12 เดือนหรือในรอบ 1 ปีล่าสุด

 

ในการคํานวณค่า P/E ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะไม่ใช้ “กําไรสุทธิต่อหุ้นสามัญ (EPS)” แต่จะเลือกใช้ “กําไรสุทธิที่บริษัททำได้ในรอบระยะเวลา 12 เดือนล่าสุด” มาคํานวณแทน

 

 

Earning per Share (EPS)

กําไรต่อหุ้น (EPS) สวนของกําไรสุทธิที่แบ่งเฉลี่ยแก่หุ้นสามัญแต่ละหุ้น

 

P/BV

อัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดของหุ้นสามัญต่อมูลค่าทางบัญชีของหุ้นสามัญ 1 หุ้น ตามงบการเงินล่าสุดของบริษัทผู้ออกหุ้นสามัญ ซึ่งแสดงราคาหุ้น ณ ขณะนั้นเป็นกีเท่าของมูลค่าทางบัญชี

 

Book Value per Share (BVPS)

มูลค่าของบริษัทผู้ออกหุ้นสามัญ 1 หุ้นตามงบการเงินล่าสุด ซึ่งเสมือนการรายงานมูลค่าของกิจการในทางบัญชีจากการประเมินสินทรัพย์สุทธิ (Net Asset Value) ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ที่สามารถจ่ายคืนให้กับผู้ถือหุ้นสามัญได้ในกรณีเลิกกิจการ และเป็นการประมาณการมูลค่าหุ้นอย่างหนึ่ง

 

ROI

Return on Investment หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดผลตอบแทนทุกประเภทของการลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งได้แก่ ผลตอบแทนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหลักทรัพย์ที่ลงทุน (Capital gain/loss) สิทธิในการจองซื้อหุ้น (Rights) และเงินปันผล (Dividends)

Dividend Yield

อัตราเงินปันผลตอบแทน คือ อัตราเปรียบเทียบเงินปันผลจ่ายต่อหุ้นสามัญเทียบกับราคาตลาดของหุ้นสามัญเพื่อดูผลตอบแทนว่าหากลงทุนซื้อหุ้น ณ ระดับราคาตลาดปัจจุบัน จะมีโอกาสได้รับเงินปันผลคิดเป็นอัตราร้อยละเท่าไรของราคาหุ้น

 

Dividend per Share (DPS)

เงินปันผลต่อหุ้น คือ ส่วนของกำไรที่บริษัท (หรือกองทุนรวม) แบ่งจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ (หรือผู้ถือหน่วยลงทุน) ตามสิทธิของแต่ละหุ้นปันผลแก่หุ้นบุริมสิทธิมักกำหนดไว้ตายตัวเป็นร้อยละของราคาตราไว้ แต่ปันผลแก่หุ้นสามัญ (หรือหน่วยลงทุน) จะมากหรือน้อยเปลี่ยนแปลงไปตามผลการดำเนินงานของบริษัทในแต่ละปี คณะกรรมการบริษัทจะประกาศจ่ายปันผลแก่หุ้นสามัญเป็นคราว ๆ ไป ปันผลอาจจ่ายเป็นเงินสดหรือหุ้นก็ได้

Market Cap (M. Baht)

มูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) คือ มูลค่าโดยรวมของหุ้นสามัญของบริษัทใด ๆ ที่คำนวณขึ้นโดยใช้ราคาตลาดของหุ้นนั้นคูณกับจำนวนหุ้นสามัญจดทะเบียนปัจจุบัน (Listed Shares) โดยแสดงข้อมูลในหน่วยล้านบาท

 

As of

แสดงวันที่ของข้อมูล

 

ส่วนที่ 4: Securities Details

 

รายละเอียดต่างๆ ของหลักทรัพย์ 

 

รายการ

รายละเอียด

Listed Shares

จำนวนหุ้นจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์

Authorized Shares

จำนวนหุ้นจดทะเบียนตามกฎหมาย

Free Float

จำนวนหุ้นที่ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงเพื่อการซื้อขายได้ปกติ โดยหลักการ หุ้น free float คือหุ้นที่ไม่ได้ถือโดยนักลงทุนกลุ่ม strategic shareholder และไม่ได้เป็นหุ้นที่ซื้อคืน โดยที่ strategic shareholder หมายถึง ผู้ลงทุนที่ถือหุ้นเพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารหรือเพื่อเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ ในที่นี้รวมผู้ถือหุ้นกลุ่มต่อไปนี้

1.    รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ

2.    กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร 4 ระดับแรกนับต่อจากผู้จัดการลงมา รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่มีความสัมพันธ์

3.    ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยกเว้นผู้ถือหุ้นกลุ่มดังต่อไปนี้คือ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย กองทุนรวม และกองทุนที่ออมแบบมีภาระผูกพัน

4.    ผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม

ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด

Foreign Limit

ข้อจำกัดหุ้นต่างด้าว คือ สัดส่วนที่ผู้ลงทุนต่างประเทศ (ประกอบด้วยบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งไม่ได้ใช้สัญชาติไทย) สามารถถือครองหุ้น และมีชื่อปรากฎบนหน้าทะเบียนได้ โดยกําหนดเป็นร้อยละของจํานวนหุ้นที่จดทะเบียนทั้งหมด

Par

ราคาพาร์ หรือ มูลค่าที่ตราไว้ คือ มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ระบุไว้บนใบหุ้น ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกําหนดในหนังสอบริคณห์สนธิของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์นั้น มูลค่าที่ตราไว้เป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงมูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วย ซึ่งจะใช้เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์บัญชี และแสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฎหมายของกิจการ

IPO Price

ราคา IPO คือ ราคาเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering)

Silent Period

ระยะเวลาห้ามซื้อขายหุ้น IPO คือ ช่วงระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดห้ามผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและ/หรือผู้เกี่ยวข้อง กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนใหม่ ในการนำหุ้นบริษัทดังกล่าวที่ตนถือครองอยู่ออกขาย โดยทั่วไปช่วงเวลาห้ามขาย หุ้นจะประมาณ 6 เดือนนับแต่วันแรกที่ให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่ในบางกรณีอาจจะกำหนดให้นานกว่า 6 เดือนก็ได้ แต่ไม่เกิน 3 ปี

Silent Shares

จำนวนหุ้นที่อยู่ในช่วงห้ามซื้อขาย (Silent Period)

 

 

 

 

Quick Links

 

Company

 

Consensus

 

Financial

 

Trading Data

Company Profile

 

Analyst Opinion

 

Financial Highlights

 

Stock Comparison

Company Highlight

 

Detailed Estimates

 

 

 

NVDR Trading

Capital & Par Changes

 

 

 

 

 

Short Sales

Rights & Benefits

 

 

 

 

 

Insider Transactions

Investment

 

 

 

 

 

 

Directors

 

 

 

 

 

 

Major Shareholders